วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2564

 ประเพณีของจังหวัดนราธิวาส

การแข่งเรือกอและ



ความสำคัญ
เรือกอและ ภาษาพื้นเมืองเรียก เรือโยกอง เป็นเรือประมงหาปลาของชาวประมงภาคใต้ของไทย โดยเฉพาะ จังหวัดนราธิวาส ทั้งได้ใช้เรือนี้เป็นเรือแข่งขันมาแต่โบราณ และได้หยุดไป จนกระทั่ง พ.ศ. 2518 จังหวัดนราธิวาสจึงได้ฟื้นฟูประเพณีแข่งเรือกอและขึ้นใหม่อีกครั้ง
การ แข่งเรือกอและเมื่อ พ.ศ. 2518 นั้น ประชาชนชาวจังหวัดนราธิวาสพร้อมใจกันจัดขึ้นเพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อีกทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
 ในการที่พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินยังจังหวัดนราธิวาส เพื่อทรงประกอบพระราชกรณียกิจทั่วจังหวัดภาคใต้
      ในการเสด็จแปรพระราชฐานทุกครั้งจะทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดใกล้เคียงทุกหมู่เหล่า ทรงวางโครงการน้อยใหญ่เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้มีความสงบสุขร่มเย็นด้วยพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯประชาชนชาวจังหวัดนราธิวาสต่างเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรจัดให้มีการแข่งขันเรือกอและ
อันเป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวจังหวัดนราธิวาสถวายทอดพระเนตรเพื่อเทิดพระเกียรติในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นและเป็นการฟื้นฟูประเพณีการแข่งเรือกอและด้วยฝีพาย หน้าพระที่นั่ง และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้จัดการแข่งขันเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๙ อีกทั้งได้พระราชทานถ้วยรางวัลแก่ทีมเรือที่ชนะการแข่งขันด้วย

 แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดนราธิวาส

วัดชลธาราสิงเห (วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย)


ความสำคัญของวัดชลธาราสิงเห
ตั้งอยู่ที่ ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ มีจุดเด่นที่สวยงามโดยอาคารสถาปัตยกรรมแต่ละหลังจะมีเอกลักษณ์โดดเด่นมาก เป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานความเป็นพุทธ มุสลิม และจีน เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ เนื่องจากเป็นโบราณสถานของชาวไทยพุทธที่รัฐบาลไทยได้หยิบยกเป็นเหตุผลอ้างอิง ในการปกปันเขตแดนในปี 2441  ที่มีผลไม่ให้ดินแดนส่วนนี้ถูกผนวกเข้าในเขตของประเทศมาเลเซีย ทำให้ประเทศไทยไม่สูญเสียเอกราชไปเป็นอาณานิคมของอังกฤษ จึงได้สมญานามว่า “วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย”

    วัดชลธาราสิงเหนั้นมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์พรมแดนไทย-มาเลเซีย เนื่องจากเป็นสถานที่ที่รัฐบาลสยามใช้เป็นเหตุผลอ้างอิงในการปักปันเขตแดนใน สมัย รัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2452 ในเวลานั้นเมื่อแหลมมลายูได้ตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิบริติช จากสนธิสัญญาอังกฤษ–สยาม พ.ศ. 2452 อังกฤษได้พยายามที่จะผนวกจังหวัดนราธิวาสให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพมาลายาด้วย ซึ่งอังกฤษได้อ้างการปักปันเขตแดนโดยใช้สันเขาและแม่น้ำเป็นแนวตามหลักสากล เข้ามาถึงบ้านปลักเล็กเลยจากวัดชลธาราสิงเห 25 กิโลเมตร ซึ่งเส้นแบ่งเขตรัฐกลันตันกับประเทศไทยจะอยู่ที่ตำบลบ้านสะปอม ในเขตอำเภอเมืองและอำเภอตากใบในปัจจุบัน แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัฐบาลสยามจึงถือยกเอาพระพุทธศาสนา วัด และศิลปะในวัดเป็นเครื่องต่อรองการแบ่งปันเขตแดน โดยให้เหตุผลว่าวัดชลธาราสิงเหเป็นวัดไทยที่มีความสำคัญ เป็นมรดกทางพุทธศาสนา ซึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอตากใบ มีอาคารสถานที่และถาวรวัตถุเป็นแบบไทย ประชาชนนับถือศาสนาพุทธเป็นเวลาช้านาน ประกอบกับท้องที่อำเภอตากใบมีวัด ชาวพุทธอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงควรไม่รวมพื้นที่เหล่านี้ไปในเขตรัฐกลันตันที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม สุดท้ายอังกฤษยอมจำนนต่อเหตุผลและยอมรับให้เป็นจังหวัดนราธิวาสในประเทศไทยต่อไป ฝ่ายอังกฤษจึงยอมเลื่อนการปักปันเขตแดนถอยลงไปทางใต้จนถึงลำน้ำแม่น้ำโก-ลกทำให้พื้นที่ทางตอนเหนือแม่น้ำตากใบของจังหวัดนราธิวาสอยู่ในการปกครองของราชอาณาจักรไทยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีผลให้ 4 อำเภอชายแดนไทย คือ อำเภอตากใบ อำเภอแว้ง อำเภอสุไหงปาดี และ อำเภอสุไหงโก-ลก ไม่ต้องผนวกเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย วัดชลธาราสิงเหจึงเป็นที่รู้จักในอีกนามหนึ่งว่า “วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย”





 ประเพณีของจังหวัดนราธิวาส การแข่งเรือกอและ ความสำคัญ เรือกอและ ภาษาพื้นเมืองเรียก เรือโยกอง เป็นเรือประมงหาปลาของชาวประมงภาคใต้ของไทย โดยเฉ...